คู่มือการใช้งาน/ข้อจำกัด

รศ. ดร. รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต
ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร
รศ. ดร. อนันต์ ผลเพิ่ม
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

การใช้ฐานข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

http://consumption.acfs.go.th/
หน้าจอจะขึ้นหน้า ดังแสดงในภาพต่อไปนี้ ซึ่งการเข้าไปเรียกข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้อง ล๊อคอิน/ ลงทะเบียนใช้งาน เมนูด้านซ้ายมือล่างสุดดังในภาพ
หลังกรอก บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน แล้วกด “ล๊อคอิน” เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล จะได้ภาพต่อไปนี้ ท่านสามารถเรียกข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลการคำนวณปริมาณอาหารที่คนไทยบริโภคได้จากเมนูด้านซ้ายมือ ดังภาพ
1. นิยามศัพท์ เมื่อเลื่อนเมาส์ไปยังเมนู นิยามศัพท์ แล้วกด 1 ครั้งที่ปุ่มซ้ายของเมาส์จะปรากฏหน้าจอดังนี้
2. คู่มือการใช้งานและข้อจำกัด เลือกคลิกที่ “คู่มือการใช้งานและข้อจำกัด” ที่แถบเมนูด้านซ้ายมือเพื่อดู Demo วิธีการเข้าสู่ฐานข้อมูลการคำนวณปริมาณอาหารที่คนไทยบริโภค ดังภาพ
3. Code
ในส่วนของ code นี้ จะประกอบด้วย
- Code setting criteria ซึ่งจะระบุเกณฑ์ในการจัดทำ code สำหรับ Food code, ingredient code และ Raw material code ผู้ใช้ฐานข้อมูลควรเข้าใจเกณฑ์ในการจัดทำ code ดังกล่าวก่อนเพื่อให้สามารถระบุว่าต้องการให้ฐานข้อมูลฐานข้อมูลคำนวณปริมาณอาหารที่ คนไทยบริโภคในส่วนของ Food (รายการอาหารที่ได้จากการสำรวจ) หรือ ingredient ที่เป็นส่วนประกอบที่ได้จากการอาศัย แฟกเตอร์ต่างๆ ในการคำนวณปริมาณส่วนประกอบที่มีอยู่ในรายการอาหารที่สำรวจ หรือ การย้อนขึ้นไปถึงปริมาณ raw material ที่ใช้สำหรับการผลิต ingredient และเป็นส่วนที่บริโภคได้
- Food code
- Ingredient code
- Raw material code
3.1 Code setting criteria
จากเมนูหลักด้านซ้ายมือให้คลิกที่ Code ทางซ้ายมือ เมื่อเห็นเมนูย่อยปรากฏดังในภาพ ซึ่งมี 4 เมนูย่อย ให้เลือกที่ code setting criteria ซึ่งจะอธิบายถึง code ที่ใช้ในฐานข้อมูล
(1) เกณฑ์ในการกำหนด รหัสของอาหาร (Food code) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 หลัก รหัส 2 ตัวแรก แสดงกลุ่มของอาหาร (Food group) และ รหัส 2 ตัวหลัง แสดงชนิดอาหารใน Food group
(2) เกณฑ์ในการกำหนด รหัสของส่วนประกอบอาหาร (ingredient code) และวัตถุดิบ (raw material code)
เมื่อเลื่อนเมาส์ลงมา จะระบุเกณฑ์ในการกำหนด ingredient code และ raw material code ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกันประกอบด้วย ตัวอักษร 2 ตัวแรก แทน ingredient group และ รหัส ตัวเลข 6 ตัว แบ่งเป็น 4 ชุด (2-1-1-2) ดังแสดงในภาพ ทั้งนี้ พบว่า เพื่อให้สอดคล้องกับ code ของ codex จึงได้ทำบัญชี cross reference for codex code กำกับไว้
เมื่อคลิกที่ cross reference for codex code จะขึ้นภาพดังนี้
3.2 Food code
เมื่อ คลิกไปยังเมนูย่อย Food code จะปรากฏหน้าจอดังภาพ ซึ่งสามารถเรียกรายการอาหาร ได้ 3 ลักษณะคือ
(1) สูตรอาหาร เมื่อต้องการดูว่า สูตรของแต่ละรายการอาหารประกอบด้วยอะไร ให้คลิกไปยังรายการอาหารที่ต้องการ เช่น บะหมี่เหลือง จะแสดงตารางส่วนประกอบของอาหารที่เลือกดังในภาพ
หรือเลือกที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (เส้นแห้ง) จะได้สูตรดังภาพ ซึ่งจะเห็นว่า Total นั้นมีค่ามากกว่า 100% เนื่องจากใน database นี้จะคำนวณต่อ ปริมาณที่บริโภค 100 กรัม จะต้องใช้ส่วนประกอบเท่าใด การที่ Total > 100% เนื่องจากมีการสูญเสียในหรือแทนที่ด้วยน้ำหรือ น้ำมันหรือน้ำตาล ระหว่างการแปรรูป (โดยใช้ factor ต่างๆ ในการคำนวณ)
(2) การเลือกกลุ่มอาหาร เมื่อต้องการทราบ Food group เลื่อนเมาส์ไปยัง Food group ซึ่งปรากฏ All Group อยู่ ซึ่งเป็นหน้าต่างของรายการอาหารทั้งหมด 18 กลุ่มดังที่ได้อธิบายใน code setting criteria ดังภาพ
(3) การเลือกอาหารเฉพาะ เช่น ข้าว เมื่อพิมพ์ “ข้าว” สำหรับ การ search จากกลุ่มทั้งหมด จะได้ภาพในหน้าจอ ดังนี้
3.3 Food code
สำหรับ ingredient code สามารถเรียกดูว่า ส่วนประกอบอาหารใดมี code อะไร ก็สามารถ คลิกไปยังเมนูย่อย ingredient code ทางด้านซ้ายมือ จะปรากฏภาพดังนี้
ในทำนองเดียวกัน จาก เมนูย่อย ingredient code สามารถเลือกกลุ่มของ ingredient group ซึ่งกำหนดไว้ 21 กลุ่ม ดังภาพ
และอาจหา code เฉพาะ ingredient บางตัวเช่น ข้าว ก็จะปรากฏ ingredient code ที่มีคำว่า ข้าว ดังนี้
อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ อาจมีคำบางตำที่จำเป็นต้องระวัง เช่น นม อาจมี ingredient code ของ น้ำมันมะพร้าว กลิ่นมะลิ วุ้นมะพร้าว เนื่องจากเป็นภาษาไทยที่มีคำว่า นม ซึ่งอาจแก้ไขด้วยการเลือก raw material group ร่วมด้วย
3.4 Raw material code
สำหรับ Raw material code สามารถเรียกดูว่า วัตถุดิบอะไรมี code อะไร ก็สามารถ คลิกไปยังเมนูย่อย Raw material code ทางด้านซ้ายมือ จะปรากฏภาพดังนี้
ในทำนองเดียวกัน จาก เมนูย่อย Raw material code สามารถเลือกกลุ่มของ Raw material group ซึ่งกำหนดไว้ 21 กลุ่ม ดังภาพ
และอาจเรียกสามารถเลือก วัตถุดิบ บางตัวได้จากพิมพ์ชื่อวัตถุดิบที่ต้องการเพื่อ search เช่น พิมพ์คำว่า “อ้อย” จะได้ภาพต่อไปนี้
4. Consumption
ในกรณีเมนูของ Consumption จะมีข้อมูลที่สามารถเรียกได้ 3 ส่วนคือ
- Consumer ratio (%) ซึ่งเป็นสัดส่วนของผู้บริโภคอาหารแต่ละชนิดที่ได้จากการสำรวจข้อมูลการบริโภคอาหาร
- Consumption data สำหรับกลุ่มเด็ก อายุ 0-3 ปี
- Consumption data สำหรับอายุต่างๆ ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
4.1 Consumer ratio (%)
เมื่อต้องการทราบร้อยละของผู้บริโภคอาหารแต่ละชนิด ที่เป็นเพศชาย หญิง หรือรวมเพศ ก็ให้คลิกที่เมนูย่อย Consumer ratio (%) ด้านซ้ายมือ จะปรากฏภาพ
4.2 Consumption น้อยกว่า 3 ปี
เมื่อต้องการทราบปริมาณการบริโภคอาหารในแต่ละรายการ สำหรับกลุ่มเด็กอายุ 0-3 ปี ให้คลิกเลือก Consumption แล้วเลือก น้อยกว่า 3 ปี ทางด้านซ้ายมือ จะปรากฏภาพต่อไปนี้ ซึ่งจะสามารถ หาค่า Percapita (g/person/day) หรือ Consumers only (Eater only) (g/person/day) สำหรับทั้ง Mean (average) และ 97.5th Percentile
4.2 Consumption มากกว่าเท่ากับ 3 ปี
เมื่อต้องการทราบปริมาณการบริโภคอาหารแต่ละชนิด สำหรับกลุ่มอายุในช่วงต่างๆ ต่างๆ ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ให้คลิกเลือก Consumption แล้วเลือก มากกว่าเท่ากับ 3 ปี ทางด้านซ้ายมือ จะปรากฏภาพต่อนี้ ซึ่งสามารถเรียกข้อมูลทั้ง Eater only (Consumers only) หรือ Per-Capita
5. Query
Query เป็นส่วนที่สำคัญที่ database จะคำนวณหา ปริมาณการบริโภคของ ingredient ที่เป็นส่วนประกอบอาหารในแต่ละรายการอาหารที่ได้จากการสำรวจ โดยสามารถ Query ด้วยการคลิกที่เมนูย่อยส่วนที่เป็น Ingredient หรือ Raw material ดังนี้
5.1 Ingredient –Query
เมื่อต้องการ ingredient consumption จากรายการอาหารทั้งหมด ให้คลิกเมนูย่อย Ingredient จะปรากฏภาพต่อไปนี้
โดยปริมาณบริโภค (intake) ที่จะคำนวณนั้น จำเป็นต้องระบุว่า intake แบบ Per-Capita หรือ Consumers Only ต้องการให้ report ในรูปของ Mean หรือ 97.5th Percentile เลือกกลุ่มอายุที่ต้องการ จากนั้น ก็เลือก ingredient code ที่ต้องการ แล้ว กด Query ในกรณีที่ไม่ทราบว่า ingredient ที่ต้องการหานั้น มี ingredient code อะไร ก็ให้ไปคลิกที่ เมนูด้านซ้ายมือที่ Code เลือก ส่วนประกอบจะได้ code ที่ต้องการ ดังที่อธิบายแล้วในหัวข้อ 3.3
ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการทราบปริมาณการบริโภคของ “ข้าวโพด” ให้กลับไปที่เมนูหลัก ทางด้านซ้ายมือ เลือกคลิกที่หัวข้อ Code แล้วเลือก Ingredient code แล้วพิมพ์ “ข้าวโพด” แล้วกด search เพื่อหาคำที่มีข้าวโพด ดังภาพ
โดยข้าวโพดมี ingredient code คือ CG 010006 ให้ copy แล้วกลับมาที่เมนูหลัก เลือก Query จากนั้นเลือก Ingredient และป้อน Ingredient code ด้วยการ paste จะปรากฏ CG 010006 ในช่อง Query โดยระบุการรายงานข้อมูล consumption ที่ต้องการ ดังแสดงในภาพ
จากนั้นให้คลิก Query จากเมนูด้านซ้ายมือ เพื่อหาข้อมูลปริมาณการบริโภคของส่วนประกอบ CG 010006 (ข้าวโพด) intake แบบ Per-Capita ที่รายงานในรูปของ Mean ในกลุ่มอายุมากกว่า 3 ปี โดย ingredient consumption จากรายการอาหารทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาโครงการสำรวจดังกล่าว มี 3 รายการ ปริมาณการบริโภค ingredient รวม 10.933 g/person/day ดังภาพ ทั้งนี้ ในฐานข้อมูลก็ได้แสดง Food consumption ของแต่ละรายการอาหารไว้ด้วย ซึ่งสามารถเลือกพิมพ์ข้อมูล หรือ export ไปยัง excel ได้ เพื่อนำข้อมูล consumption ไปใช้ต่อไป
5.2 Raw material –Query
เมื่อต้องการ Raw material consumption จากรายการอาหารทั้งหมด ให้คลิกเมนูย่อย Raw material ภายใต้ Query จะปรากฏภาพต่อไปนี้
โดยปริมาณบริโภค (intake) ที่จะคำนวณนั้น จำเป็นต้องระบุว่า intake แบบ Per-Capita หรือ Consumers Only ต้องการให้ report ในรูปของ Mean หรือ 97.5th Percentile เลือกกลุ่มอายุที่ต้องการ จากนั้นเลือก Raw material code ที่ต้องการ แล้ว กด Query ในกรณีที่ไม่ทราบว่า Raw material (RM) ที่ต้องการหานั้น มี RM code อะไร ก็ให้ไปคลิกที่ เมนูด้านซ้ายมือที่ Code เลือก Raw material code ที่ต้องการ ดังที่อธิบายแล้วในหัวข้อ 3.4
ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการทราบปริมาณการบริโภคของ raw material “น้ำอ้อย” ให้กลับไปที่เมนูหลัก ทางด้านซ้ายมือ เลือกคลิกที่หัวข้อ Code แล้วเลือก Raw material code แล้วพิมพ์ “น้าอ้อย” แล้วกด search เพื่อหา RM code ของน้ำอ้อย ดังภาพ
จากนั้นให้คลิก Query จากเมนูด้านซ้ายมือจะได้ข้อมูลการบริโภคของ CG 010006 (ข้าวโพด) intake แบบ Per-Capita ที่รายงานในรูปของ Mean ในกลุ่มอายุมากกว่า 3 ปี โดย ingredient consumption จากรายการอาหารทั้งหมดที่ได้จากการศึกษาโครงการสำรวจดังกล่าว มี 3 รายการ รวม 10.933 g/person/day ดังภาพ ทั้งนี้ ในฐานข้อมูลก็ได้แสดง Food consumption ของแต่ละรายการอาหารไว้ด้วย ซึ่งสามารถเลือกพิมพ์ข้อมูลหรือ export ไปยัง excel ได้ เพื่อนำข้อมูล consumption ไปใช้ต่อไป
6. ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้ ประกอบด้วย
- Body weight
- Factor: yield – edible
- Factor สุก-ดิบ
- Factor สด-แห้ง
6.1 Body weight
7. ข้อเสนอแนะ/ติชม
เมื่อท่านได้ฝึกทดลองใช้แล้ว ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่มีผลต่อการนำไปปรับปรุงให้ฐานข้อมูลมีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ต่อไป ท่านสามารถป้อนข้อมูลแล้ว ส่งได้ด้วยการกดปุ่ม ส่งข้อเสนอแนะ/ติชม